internal mediation acrosswork

นักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร

( ตอนที่ 5 :  ความคาดหวังต่อการจัดการความขัดแย้งในองค์กรสมัยใหม่)

โดย อ.นพพล นพรัตน์  (CEO, Acrosswork)

 

ความคาดหวังต่อการจัดการความขัดแย้งในองค์กรสมัยใหม่

           องค์กรไม่สามารถห้ามมิให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์กรได้ เพราะความขัดแย้งถือเป็นธรรมชาติของการมาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมมนุษย์ และหลายครั้งความขัดแย้งก็ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์  การปรับปรุงกระบวนการผลิต  หากปราศจากความขัดแย้งเลยองค์กรก็จะมองไม่เห็นแง่มุมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย ยังคงยึดหรือทำแบบเดิม ..

           นอกจากนี้หากทุกคนเห็นตรงกันหมดทุกเรื่อง แต่ละคนก็จะขาดความกระตือรือร้นในการสร้างความแตกต่าง เราจะเหลือแต่คนที่ทำงานไปวัน ๆ เกรงใจกันจนไม่กล้าแสดงความเห็นต่างออกมา แม้ว่าความเห็นนั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อองค์กรมากเพียงใด

             ฉะนั้น หากองค์กรคาดหวังให้เกิดความขัดแย้งในระดับที่เหมาะสม เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ และสามารถควบคุมความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ให้ลุกลามขยายวงกว้างจนยากที่จะควบคุม องค์กรจำเป็นต้องเริ่มสร้างกระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ขึ้นในปัจจุบัน

             องค์กรต่างพยายามสร้างกระบวนการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เตรียมวิธีในการรับมือความเห็นต่าง กำหนดข้อตกลงที่คนในองค์กรรับทราบว่าเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วไม่ว่าในระดับใดก็ตาม องค์กรจะมีกระบวนการจัดการความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพรองรับเหตุการณ์ได้อย่างเหมาะสม ได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

internal mediator conflict

               สอดคล้องกับการแก้ไขความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง ใช้กระบวนการที่สอดคล้องกับแนวทางแห่งสันติวิธี (Non-violence) ซึ่งจะช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบในเชิงลบจากความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะในส่วนของคู่กรณีที่ต้องได้รับการให้ความรู้จนตระหนักว่าวิธีคิดหรือพฤติกรรมใดของตนที่สมควรหรือไม่สมควรนำมาใช้เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นในทีมงานหรือองค์กร พฤติกรรมใดช่วยลดความขัดแย้ง พฤติกรรมใดกระตุ้นให้ปัญหาความขัดแย้งขยายตัว

 

                องค์กรมีความคาดหวังให้คนที่เป็นหัวหน้าทีม เป็นผู้บริหารในทุกระดับมีความสามารถ (Competence) ของการเป็นนักไกล่เกลี่ย (Mediator) ที่สามารถช่วยองค์กรจัดการกับความขัดแย้งในทีม เปลี่ยนให้กลายเป็นความร่วมมือ บทบาทนี้นับวันยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเนื่องจากบริบทที่ได้กล่าวมาแล้วว่าองค์กรกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในทุกด้าน และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่สามารถนำพาเราทุกคนไปสู่เวทีแห่งความขัดแย้ง ผู้นำองค์กรในทุกระดับจึงถูกคาดหวังถึงการแสดงบทบาทของการเป็นนักไกล่เกลี่ยอย่างมืออาชีพ ถือเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำองค์กรในอนาคต

 

Leadership acrosswork

   
           เมื่อคนในองค์กรเข้าใจและตระหนักถึงการเรียนรู้ในการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีแล้ว จะยิ่งเป็นการยกระดับคุณภาพความคิดของสมาชิกในสังคม เพราะสามารถนำความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่เหมาะสมไปใช้ในการจัดการกับความขัดแย้งภายในสังคมที่ตนอยู่ได้

 

ในบทความหน้าเรามาเข้าใจ  .. >>>  7  ลักษณะการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ <<< .. กันต่อนะครับ

 * Acrosswork กำลังจะมีโครงการ Internal Mediator Certificate Program (ประกาศนียบัตรนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร)