นักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร
( ตอนที่ 9 : บทบาทของนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร)
โดย อ.นพพล นพรัตน์ (CEO, Acrosswork)
บทบาทของนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร
จากความคาดหวังขององค์กร และความมุ่งมั่นปรารถนาอยากเห็นเพื่อนร่วมงาน ทีมงานสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและทำงานได้ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง นักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งจำเป็นต้องทุ่มเทความรู้ ความสามารถ และเสียสละเวลาเข้ามาช่วยสร้างกระบวนการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยที่สุดทำให้คู่กรณีทุกฝ่ายเห็นช่องทางของการหันหน้าเข้าพูดคุยกันเพื่อปรับความเข้าใจ ไม่ใช่มีหนทางเดียวคือ การใช้ความรุนแรงและการแตกหักกันที่จะนำมาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปรากฎ
ต่อไปนี้คือ บทบาทหน้าที่ของนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร ที่ควรปฏิบัติ
1. จัดให้เกิดการพูดคุยเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง โดยการนัดหมายคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. อำนวยความสะดวกให้การไกล่เกลี่ยเป็นไปตามขั้นตอนและวัตถุประสงค์ที่กำหนด
3. ช่วยลดความขัดแย้ง การปะทะระหว่างคู่กรณี ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นระยะตลอดการพูดคุย
4. สามารถช่วยกระตุ้น เสนอแนะ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญและจำเป็นกับคู่กรณีสำหรับการสร้างให้เกิดทางเลือกใหม่ ๆ ในการแก้ไขความขัดแย้ง
5. สร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร การรับฟังผู้อื่น การเห็นอกเห็นใจ การให้อภัยและให้โอกาสแก่กันระหว่างคู่กรณี
6. จัดทำข้อตกลงเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างคู่กรณีด้วยความเป็นกลาง
7. ติดตามผลของการปฏิบัติตามข้อตกลงจากคู่กรณีทุกฝ่าย
ในบทความหน้าเรามาเข้าใจ ความหมายของ .. >>> คุณลักษณะที่ดี 6 ประการของการเป็นนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร <<< .. กันนะครับ
* Acrosswork กำลังจะมีโครงการ Internal Mediator Certificate Program (ประกาศนียบัตรนักไกล่เกลี่ยความขัดแย้งภายในองค์กร) *